โคลงมีลักษณะบังคับ ๖ อย่าง
ได้แก่ คณะ พยางค์ สัมผัส
คำเอก คำโท คำเป็น
คำตาย และ คำสร้อย
โคลงที่นิยมแต่งกันมากที่สุด คือ โคลงสี่สุภาพ
โคลงสี่สุภาพซึ่งถือเป็นโคลงแม่บท
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง
อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น
ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
(ลิลิตพระลอ)
ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ บาท (หนึ่งบรรทัดคือหนึ่งบาท) แต่ละบาทแยกเป็น ๒ วรรค เรียก
วรรคหน้ากับวรรคหลัง แบ่งเป็นวรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ เฉพาะบาทที่ ๔ หรือบาท
สุดท้ายกำหนดให้วรรคหลังมี ๔ คำ
๒. คำสร้อย เฉพาะบาท ๑ กับบาท ๓ อนุญาตให้มีคำเพิ่มต่อท้ายวรรคหลังได้ อีกบาท
ละ ๒ คำ เรียก คำสร้อย หรือสร้อยคำ นิยมให้ลงท้ายด้วยคำดังนี้ เฮย แฮ ฮา รา ฤา นา ฯลฯ
๓. เอก – โท คือ คำกำหนดบังคับเสียง อันเป็นลักษณะพิเศษของโคลง
คำเอก คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรคยุกต์เอก เช่น แก่ ค่า ใส เฉพาะคำเอกนี้ในโคลง
อนุญาตให้ใช้คำตายแทนได้ คำตาย คือ คำที่สะกดในแม่ กก กด กบ เช่น ปิด ฉาก นัด พบ
คำโท คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท เช่น ร้อง ไห้ ต้ม ข้าว
โคลงสี่สุภาพ กำหนดบังคับให้แต่ละบทต้องใช้คำเอก-โท (ดูแผนผัง)
๔. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างบท อันเป็นสัมผัสบังคับ คำสุดท้ายของบาทหนึ่งคือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปรับสัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทสองกับบาทสาม (ดูแผนผัง) คำสุดท้าย ของบาทสอง คือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปรับกับคำที่ ๕ ของบาทสี่ (ซึ่งตกในที่บังคับคำโทจึงต้องส่ง-รับด้วยคำโททั้งคู่)
ข. สัมผัสระหว่างบท โคลงสี่สุภาพไม่เคร่งสัมผัสระหว่างบท จะมีหรือไม่มีก็ได้ หากจะมีกำหนดให้คำสุดท้ายของบทคือคำที่ ๗ ของบาทสี่ ส่ง-รับสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของบาทหนึ่งในบทถัดไป
ละ ๒ คำ เรียก คำสร้อย หรือสร้อยคำ นิยมให้ลงท้ายด้วยคำดังนี้ เฮย แฮ ฮา รา ฤา นา ฯลฯ
คำเอก คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรคยุกต์เอก เช่น แก่ ค่า ใส เฉพาะคำเอกนี้ในโคลง
อนุญาตให้ใช้คำตายแทนได้ คำตาย คือ คำที่สะกดในแม่ กก กด กบ เช่น ปิด ฉาก นัด พบ
คำโท คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท เช่น ร้อง ไห้ ต้ม ข้าว
โคลงสี่สุภาพ กำหนดบังคับให้แต่ละบทต้องใช้คำเอก-โท (ดูแผนผัง)
https://www.gotoknow.org/posts/413872.gsappid
https://culture55020779.wordpress.com/2015/03/01/โคลงสี่สุภาพ/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น